ความหมายของซอฟต์แวร์ประยุกต์

       ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)  คือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น เพื่อประยุกต์กับงานที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์จัดเก็บภาษี ซอฟต์แวร์สินค้า
คงคลัง ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์กราฟิก ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เป็นต้น
  การทำงานใดๆ โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จำเป็นต้องทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมของซอฟต์แวร์ระบบด้วย ตัวอย่างเช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำต้องทำงานภายใต้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอสหรือวินโดวส์ เป็นต้น
       ซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้รับความนิยมใช้งานอย่างแพร่หลายในทุกวงการ ความนิยมส่วนหนึ่งมาจาก ขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประยุกต์นั้นๆ เพราะซอฟต์แวร์ที่ผลิตออกจำหน่าย ต่างพยายามแข่งขันกันหลายๆ ด้าน เช่น เรียนรู้และใช้งานได้ง่าย สนับสนุนให้ใช้กับเครื่องพิมพ์ได้ดี มีคู่มือการใช้ซอฟต์แวร์ที่อ่านเข้าใจง่าย ให้วิธีหรือขั้นตอนที่อธิบายไว้อย่างชัดเจน และมีระบบโอนย้ายข้อมูลเข้าออกกับซอฟต์แวร์อื่นได้ง่าย

ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์

       ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับทำงานต่าง ตามที่ต้องการ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมงานทะเบียน โปรแกรมการให้บริการเว็บ โปรแกรมงานด้านธนาคาร หรือเป็น ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เช่น การทำงานเอกสาร งานกราฟิก งานนำเสนอ  
       1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เป็น Software ที่ใช้สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น Software สำหรับงานธนาคารการฝากถอนเงิน Software สำหรับงานทะเบียนนักเรียน ซอฟต์แวร์คิดภาษี ซอฟต์แวร์การให้บริการร้าน Seven ฯลฯ
       2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับงานทั่วไป โดยในซอฟต์แวร์ 1 ตัวมีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์งานด้านเอกสาร (Microsoft Word ) มีความสามารถในการสร้างงานเอกสารต่าง ๆ จัดทำเอกสารรายงาน จัดทำแผ่นพับ จัดทำหนังสือเวียน จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์

หลักการพื้นฐานของการนำเสนอ

ความหมายของการนำเสนอข้อมูล
การนำเสนอข้อมูล  Presentai tion หมายถึง การสื่อสารเพื่อเสนอข้อมูล ความรู้ ความคิดเห็น หรือความต้องการไปสู่ผู้ฟัง ผู้ฟังโดยใช้เทคนิคหรือวิธีการต่างๆ ฉันจะทำให้บรรลุผลสำเร็จตามจุดหมายของการนำเสนอ
พื้นฐานของการนำเสนอข้อมูล
การนำเสนอข็อมูลควรคำนึงถึงจุดสำคัญ 3 ส่วน คือ
1 การดึงดูดความสนใจ โดยการออกแบบให้สิ่งที่ปรากฏต่อสายตานั้นชวนมอง และมีความสบายตาสบายใจขึ้นเพื่อชมการนำเสนอ ดังนั้น การเลือกกลุ่มประกอบต่างๆ เช่น สีพื้น แบบ สี แบบขนาดของตัวอักษร รูปประกอบต้องเหมาะสมและสวยงาม
2 ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา ส่วนที่เป็นข้อความต้องสั้นแต่ได้ใจความชัดเจน ส่วนที่เป็นภาพประกอบต้องมีความสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับข้อความที่ต้องการสื่อความหมาย การใช้ภาพประกอบ มีประโยชน์มาก ดังคำพังเพยภาษาอังกฤษที่ว่า “A picture is worth a thousand words” หรือ “ ภาพภาคหนึ่งนั้นมีค่าเทียบเท่ากับคำพูดหนึ่งพันคำ” แต่ประโยคนี้คงไม่เป็นจริงหากภาพนั้นไม่มีความสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับความหมายที่ต้องการสื่อ ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจใช้ภาพใดประกอบ จึงควรตอบคำถามให้ได้เสียก่อนว่าต้องการใช้ภาพเพื่อสื่อความหมายอะไร และภาพที่เลือกมานั้น สามารถทำหน้าที่สื่อความหมายเช่นนั้นจริงหรือไม่
3 ความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย การสร้างจุดเน้นตามข้อ 1 และข้อ  2  ข้างต้นต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายด้วย เช่น กลุ่มเป้าหมายเป็นเด็ก การใช้สีสดๆ ภาพการ์ตูนมีความเหมาะสม แต่ถ้ากลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใหญ่และเนื้อหาที่นำเสนอเป็นเรื่องวิชาการหรือธุรกิจ การใช้สีสันมากเกินไปและการใช้รูปการ์ตูนอาจทำให้ดูไม่น่าเชื่อถือเพราะขาดภาพลักษณ์ของการเอาจริงเอาจังไป
การใช้เสียงประกอบในการนำเสนองาน ซึ่งมีหลักการพิจารณา ดังนี้
1.การบรรยายสด เหมาะกับการประชุม หรือสัมมนาที่มีผุ้คนหรือผู้ฟังมีส่วนร่วม
2.การพากษ์ เหมาะกับเนื้อหาที่ถ่ายทอดโดยไม่ต้องอาศัยส่วนร่วมของผู้ฟังและผู้ชม

การเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการนำเสนอ

       การเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการนำเสนอข้อมูลมีหลักการ ดังนี้
1 ความเข้าใจกับงานที่ต้องการนำเสนอ
ก่อนการเลือกระบบสารสนเทศมาใช้ในการนำเสนองานนั้น ต้องเข้าใจถึงลักษณะงานที่ต้องการนำเสนอก่อนว่าเป็นงานลักษณะใด เช่น เป็นข้อความ หรือมีการคำนวณหรือเป็นงานที่เกี่ยวกับการค้น การเก็บรักษาข้อมูล เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกระบบสารสนเทศที่เหมาะสมกับงานนั้นๆ 2 เลือกโปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้งาน
เพื่อทราบลักษณะของงานที่ต้องการนำเสนอแล้ว จะเลือกระบบสารสนเทศที่เหมาะสมกับการนำเสนองานนั้น งานบางอย่างอาจใช้ระบบสารสนเทศในการนำเสนอได้หลายอย่าง อาจต้องเลือกว่าจะใช้ระบบใด ผู้ใช้ต้องมีความเข้าใจในความสามารถของระบบนั้น โดยเฉพาะในส่วนของโปรแกรมว่าแต่ละโปรแกรมมีความสามารถใดบ้าง เราอาจจะต้องทำการประเมินว่าโปรแกรมใดมีความเหมาะสมเพียงใด แล้วจึงเรียกโปรแกรมที่เห็นว่า เหมาะสมที่สุด 3 จัดหาเครื่องมือตามความต้องการของโปรแกรม
โปรแกรมแต่ละโปรแกรมมีความสามารถไม่เหมือนกัน ขนาดของโปรแกรมก็ไม่เท่ากัน ทำให้ความต้องการของฮาร์ดแวร์ในการทำงานตามโปรแกรมนั้นแตกต่างกันในคู่มือการใช้งานโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์นั้น จะบอกข้อกำหนดของฮาร์ดแวร์ที่ต้องการสำหรับการใช้งานไว้ว่าจะต้องมีส่วนประกอบอะไรบ้าง จะต้องจัดหาฮาร์ดแวร์ให้ได้ตามข้อกำหนดนั้นให้สามารถใช้งานซอฟต์แวร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับระบบโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์นั้น ส่วนใหญ่สามารถนำมาใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์มาตรฐานที่ขายทั่วไปได้เลย ยกเว้นอุปกรณ์ประเภทเครื่องพิมพ์เลือกตามความต้องการว่าเป็นเครื่องจีนสีขาว/ดำ หรือหลายสี จอภาพจะใช้ขนาดใหญ่กี่นิ้ว หรือฮาร์ดดิสก์ที่อาจต้องดูขนาดความต้องการว่าซอฟต์แวร์ขนาดเท่าใด และฮาร์ดดิสก์จะพอใช้หรือไม่ เพราะในไมโครคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่อง นั้นเรามักจะบรรจุโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ไว้หลายชนิด และปริมาณแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่เดิมอาจมากจนกระทั่งพื้นที่ที่เหลือไม่เพียงพอต่อการใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปใหม่นั้น 4 การใช้งานโปรแกรม
ในการใช้งานนั้น นอกจากผู้ชายจะต้องทำความเข้าใจการทำงานของฮาร์ดแวร์ว่าใช้งานอย่างไรแล้ว รายละเอียดการใช้งานซอฟต์แวร์ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ใช้จะต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนก่อนการใช้งาน ส่วนใหญ่จะศึกษาจากคู่มือของโปรแกรมสำเร็จรูปนั้นเพื่อความเข้าใจในความสามารถก่อน ปกติแล้วคู่มือการใช้งานมาจากเจ้าของผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ซึ่งมักจะอธิบายถึงความสามารถตามฟังก์ชันที่มีอยู่ แต่มักจะไม่ค่อยมีตัวอย่างการประยุกต์ใช้ผู้ใช้ต้องทดลองเองจึงได้มีผู้ที่มีความรู้ความสามารถในโปรแกรมนั้นๆ ทำคู่มือการใช้งานในลักษณะการประยุกต์ มีตัวอย่างของงานแสดงให้เห็น ทำให้สามารถเรียนรู้ได้อย่างเร็วขึ้นและในปัจจุบันนี้มีการทำคู่มือการใช้งาน ในรูปของสื่อคอมพิวเตอร์ที่เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น ทำเป็นซีดีการใช้งาน เป็นต้น ฉะนั้น ผู้ใช้งานที่ยังไม่มีประสบการณ์จึงควรเรียนรู้จากคู่มือการใช้งาน ทำความเข้าใจให้ชัดเจนก่อน แล้วจึงลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง 5 การเตรียมการนำเสนอ
- ศึกษาและรวบรวมข้อมูลเนื้อหาที่จะนำเสนอ
- จัดทำโครงร่างเนื้อหาให้มีความยาวของเรื่องเหมาะแก่ระยะเวลาในการนำเสนอ
- จักลำดับเรื่องให้สอดคล้องเป็นเรื่องเดียวกัน
- เตรียมการนำเสนอจริง ต้องซ้อมการพูดให้เข้ากับแผ่นสไลด์ด้วยการจับเวลา
- เตรียมเอกสารประกอบการบรรยาย

รูปแบบในการนำเสนอข้อมูล

       โปรแกรมสำเร็จรูปในการนำเสนอ presentation Software เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่ช่วยงานด้านการนำเสนอข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจเป็นการนำเสนอข้อมูลให้กับผู้เข้ารับฟังการประชุมการสัมมนาในการบรรยายในการจัดการเรียนการสอนเป็นต้น โดยทั่วไปนิยมใช้คอมพิวเตอร์ไปพ่วงต่อกับเครื่องฉายวีดีทัศน์ LED projector หรือจอโทรทัศน์ขนาดใหญ่เพื่อนำเสนอข้อมูลให้กับผู้ฟังที่มีจำนวนมากการนำเสนอที่นิยมใช้กันมี 2 แบบคือการนำเสนอแบบ slide และการนำเสนอบนเว็บ
1 การนำเสนอแบบสไลด์ (Slide Presentation) การนำเสนอแบบ slide เป็นโปรแกรมช่วยนำเสนอปัจจุบันใช้โปรแกรม PowerPoint เป็นสื่อประกอบการบรรยายและการนำเสนอกันมากที่สุดเพราะเป็นโปรแกรมนำเสนอผลงานที่ใช้ง่ายและสามารถนำเสนอข้อมูลได้อย่างน่าสนใจ
2 การนำเสนอบนเว็บ (Web Presentation) การนำเสนอบนเว็บมีลักษณะคล้ายคลึงกับการนำเสนอด้วยสื่อทั่วไปคือมีวัตถุประสงค์เพื่อการสื่อสารระหว่างผู้ส่งและผู้รับโดยมีเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อเพื่อให้การนำเสนอบนเว็บน่าสนใจและดึงดูดผู้ชมจำ เป็นต้องทราบหลักการและวิธีการออกแบบและการนำเสนอที่ดีผู้ที่จะออกแบบควรเรียนรู้และเข้าใจถึงกระบวนการของการนำเสนอก่อน

การนำเสนองานด้วย Microsoft PowerPoint

       การประยุกต์ใช้งานด้วยโปรแกรม Microsoft Powerpoint สำหรับฝึกสร้างงานนำเสนอเรียกรุ่นของออฟฟิศตามสะดวกในแบบเรียนเล่มนี้ใช้โปรแกรมนำเสนอ Microsoft Powerpoint รุ่น 2010 ซึ่งมีแม่แบบให้เลือกใช้งานตามลักษณะงานอาชีพเช่นด้านการศึกษาด้านธุรกิจด้านการอบรม ด้านการประชุม ด้านอุตสาหกรรมและแม่แบบอื่นๆอีกหลายแบบรวมทั้งสามารถดาวน์โหลดจาก office.com  ได้อีกด้วย
1.การสร้างงานนำเสนอ
การออกแบบ หรือการจัดเรียงลำดับสไลด์เป็นสิ่งที่มีความสำคัญของการสร้างงานนำเสนอที่มีประสิทธิภาพ ตัวอย่างแนวคิดพื้นฐานด้านการสื่อสารที่สามารถชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพได้ ดังนี้
1 ในการบรรยายแต่ละครั้ง ผู้ฟังจะฟังเพียง 25-50 %ของเวลาทั้งหมด และโดยทั่วไปผู้ฟังที่เป็นผู้ใหญ่สามารถรับฟังได้เพียง 15 - 20 นาที 2 ความจะระยะสั้น (Short-Term Memory) ของคนสามารถจำได้เพียง 5-7 ประเด็นจากสิ่งที่ได้ฟังทั้งหมด 3 คนเราโดยทั่วไปจะจำได้เพียง 10% ในสิ่งที่ได้ยินและ 50% จากการอ่าน
2.ขั้นตอนการจัดเรียงลำดับสไลด์
การจัดเรียงลำดับสไลด์หลักๆเพื่อให้การนำเสนอเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสามารถทำได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1 สไลด์แรกแสดงชื่อเรื่องชื่อของผู้นำเสนอและข้อมูลเพื่อการติดต่อผู้นำเสนอ
2 สไลด์ 2 แสดงวัตถุประสงค์ในการนำเสนอครั้งนี้
3 สไลด์ 3 แสดงหัวข้อทั้งหมดในการนำเสนอช่วยให้ผู้ฟังเห็นภาพรวม
4 สไลด์ 4 แสดงส่วนของเนื้อหาเรียงลำดับตามหัวข้อ
5 สไลด์สุดท้ายควรสรุปหรือทบทวนเนื้อหาสำคัญของการนำเสนอ
6 เพิ่มสไลด์สุดท้ายด้วยข้อความง่ายๆเช่น Question หรือถามตอบเพื่อผู้ฟังถามคำถามหรือร่วมอภิปราย
7 ควรใส่หัวข้อเรื่องทุกสไลด์และหมายเลขสไลด์เพื่อช่วยให้ผู้ฟังอ้างอิงได้และป้องกันการสับสน
3.ฝึกทักษะสร้างงานนำเสนอ
ฝึกสร้างสไลด์ด้วยโปรแกรม PowerPoint เป็นโปรแกรมพื้นฐานที่ทุกคนเคยใช้งานในการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ หัวข้อนี้ให้เรียนรู้การฝึกสร้างงานนำเสนอตามตัวอย่างเนื้อหาการจัดเรียงลำดับสไลด์ 17 แผ่นเช่นสามารถเปลี่ยนพื้นหลังแม่แบบได้ตามต้องการและการนำเสนอที่ดีไม่จำเป็นต้องใส่เทคนิคยุ่งยากเพราะจะทำให้ผู้ฟังสนใจเทคนิคที่ใส่ในสไลด์มากกว่าเนื้อหาที่นำเสนอ
4.การแทรกหมายเลขภาพนิ่ง
  • บนแท็บ แทรก ให้เลือก หมายเลขสไลด์
แสดงปุ่ม หมายเลขสไลด์ บน Ribbon ใน PowerPoint
  • บนแท็บ สไลด์ ให้เลือกกล่อง หมายเลขสไลด์

แสดงกล่องโต้ตอบ หัวกระดาษและท้ายกระดาษ ใน PowerPoint
  • ถ้าคุณไม่ต้องการให้ตัวเลขปรากฏบนสไลด์ชื่อเรื่อง ให้เลือกกล่องกาเครื่องหมาย 

ไม่แสดงบนสไลด์ชื่อเรื่อง
  • เลือก นำไปใช้กับทั้งหมด
5.การเลือกแบบตัวอักษรขนาดและสีของพื้นหลัง
การเลือกแบบตัวอักษร ขนาด และพื้นหลังที่ไม่เหมาะสม ทำให้การมองเห็นไม่ชัดเจนเป็น
อุปสรรคต่อการนำเสนอ ควรเลือกใช้ รูปแบบตัวอักษรที่เป็นมาตรฐานอ่านได้ง่ายและขนาดใหญ่
ต่อการมองเห็นระยะไกล รวมถึงการเลือกสีตัวอักษรกับพื้นหลังที่ตัดกัน เพื่อช่วยให้อ่านข้อความ
ได้ง่ายซึ่งมีหลักการเลือกรูปแบบตัวอักษรขนาดและสีที่เหมาะสมดังนี้
1 เลือกใช้แบบตัวอักษรที่มีหัวเพื่อให้อ่านง่าย
2 ตัวอักษรควรใช้ขนาดใหญ่เพื่อให้มองเห็นชัดเจน font ภาษาไทยใช้ขนาดประมาณ
36 ถึง 54 Point สำหรับเนื้อหาส่วนหัวเรื่องประมาณ 54-60 Point
3 ใช้ตัวหนาหรือตัวขีดเส้นใต้เพื่อเน้นข้อความแทนการใช้ตัวเอียงเพราะอ่านได้ง่ายกว่าหาก
ใส่เงาตัวอักษรควรให้เงาตัวอักษรเข้มกว่าสีพื้น
4 การใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวแรกใหญ่เท่านั้นเช่นอินเตอร์เน็ต เพราะจะอ่านได้ง่าย
5 การใช้พื้นหลังสีตัดกับตัวอักษรเช่นตัวอักษรสว่างสีพื้นหลังมืด 4 ตัวอักษรทั่วไปนิยมใช้สีฟ้า
น้ำเงินสีดำสีขาวหรือสีเหลืองสีตัดกันที่ไม่เหมาะสมเช่นสีเขียวกับสีแดงเพราะจะทำให้ผู้ชมปวดตาได้
6 ควรใช้พื้นหลังสีเข้มสำหรับห้องไม่เกิน 20 ฟุต 5 ไกลกว่านี้ให้ใช้สีพื้นหลังสว่างแทน
7 พื้นหลังเส้นรูปภาพหรือมีลวดลายหรือมีสีเหมือนกับตัวอักษรทำให้อ่านตัวอักษรยาก
8 ควรใช้แบบตัวอักษรขนาด 4 ตัวอักษรและพื้นหลังแบบเดียวกันตลอดทุกสไลด์
9 การใช้สีมากเกินไปจะทำให้เสียเวลาในการผลิตและการนำเสนอไม่น่าสนใจต่อการอ่าน
10 การใช้ตัวอักษรมากเกินไปใน 1 สไลด์ทําให้ผู้ฟังเสียเวลาในการอ่านและลดความน่าสนใจในการฟังสไลด์ที่ดีควรใส่ข้อความที่เป็นใจความสําคัญสั้นและกระทัดรัดแบบทีละบรรทัด เพื่อผู้ฟังสามารถอ่านใจความสำคัญควบคู่ไปกับการฟังรายละเอียดเพิ่มเติมจากการบรรยายหากมีข้อมูลมากให้แก่เป็น
เอกสารประกอบเพิ่มเติม
11 การใช้เทคนิคภาพเคลื่อนไหวหรือเสียงประกอบมากเกินไปทำให้ผู้ฟังไม่สนใจเนื้อหาที่นำเสนอ
แต่จะสนใจเทคนิคของ Powerpoint ที่นำเสนอแทนหากใส่เทคนิคมากมีผลทำให้การนำเสนอช้า
หรือติดขัดขณะเปลี่ยนสไลด์แต่ละแผ่นเนื่องจากการประมวลผลที่ซับซ้อน
12 สไลด์ที่ดีต้องเปลี่ยนจากข้อความยาวๆเป็นการสรุปใจความสำคัญและการนำเสนอด้วยภาพ
6.การสร้างพื้นหลังด้วยภาพ กรณีต้องการใช้พื้นหลังเป็นรูปภาพคนลดความเข้มหรือเพิ่มความ
สว่างของพื้นหลังหรือใช้กรอบสี่เข้ามาช่วยเพื่อให้การมองเห็นตัวอักษรได้ชัดเจน
7.การสร้างงานนำเสนอด้วยแม่แบบด้านการศึกษาและลักษณะงานอาชีพอื่นๆฝึกปฏิบัติการ
สร้างงานนำเสนอตามลักษณะงานอาชีพด้านการศึกษาด้วยแม่แบบ Powerpoint
8.การบันทึกเปลี่ยนชนิดของไฟล์งานนำเสนอ สามารถเลือกบันทึกไฟล์งานนำเสนอให้เป็น
รูปแบบต่างๆได้ดังนี้
1 กิ๊กแถบแฟ้ม save and send บันทึกและส่ง
2 change File Type เปลี่ยนรูปแบบไฟล์
3 เลือกรูปแบบที่ต้องการบันทึก เช่น (*.pptx) ไฟล์แบบ Powerpoint 2010 (*.ppt)
ไฟล์แบบ Powerpoint 97-2003
4 คลิกปุ่ม save as บันทึกเป็น
9.บันทึกไฟล์งานนำเสนอแบบวีดีโอ สามารถสร้างวีดีโอเหมือนจริงจากงานนำเสนอและนำไป
เผยแพร่โดยใช้ CD เว็บหรืออีเมล์ได้ดังนี้
1 คลิกแท็บแฟ้ม เลือก save and send บันทึกและส่ง
2 เลือก สร้างวีดีโอ 3 ตั้งชื่อไฟล์
4 คลิกปุ่ม save บันทึกไฟล์ที่ได้จะเป็นชนิดจุด wmv เปิดได้กับโปรแกรม windows media player
10.บันทึกชุดรวมงานนำเสนอลงแผ่นซีดี บันทึกงานนำเสนอไปใช้งานบนคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ
โดยการบันทึกลงในแผ่นซีดีได้
11.การดูตัวอย่างก่อนพิมพ์และพิมพ์เอกสาร ก่อนพิมพ์งานนำเสนอสามารถขอดูตัวอย่างก่อนพิมพ์
ได้บนหน้าจอภาพ
12.ข้อแนะนำในการใช้งาน PowerๅPoint การออกแบบและใช้งานนำเสนอมาพบปัญหาและข้อผิดพลาดบ่อยๆในการนำเสนองานซึ่งสามารถปรับปรุงเป็นข้อได้ดังนี้ 1 สิ่งที่ต้องระวังในการนำเสนอ
จึงมักพบว่าฝ่ายไม่สามารถเปิดได้หรือเปิดได้แต่ส่งผลไม่เหมือนเดิมที่ออกแบบไว้สาเหตุเนื่องจากการ
สร้างงานนำเสนอ PowerPoint คนละรุ่นกันหรือใช้รุ่นที่ต่ำกว่ามาแสดงในรุ่นที่ใหม่กว่าทำให้เปิดได้แต่แสดงผลไม่เหมือนที่ออกแบบไว้
Onanong